ยินดีต้อนรับสู่ clubrich-4u

ถ้าคุณคือมนุษย์เงินเดือน ทำงานไปวันๆ ต้องอ่าน

สำหรับคนอยากรวยต้องทำอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสระทางด้านการเงิน เวลา สุขภาพ สร้างได้ไม่ยากด้วยตัวคุณเอง สนใจร่วมงานกับเรา club-rich4u

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บัญญัติ 10 ประการ อยากรวย ต้องรู้

บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"


  1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work) 

  2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน

  3. การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)

  4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา

  5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)

  6. ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด 

  7. ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง"  (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว

  8. ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง 

  9. นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

  10. อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง

ที่มา:   นำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์ และคณะ. อยากรวย ต้องรู้ เล่ม 3: รู้จักเครื่องมือ :กรุงเทพฯ: ฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย




10 คำถามของคนอยากรวย...... เมื่ออ่านจบแล้ว คุณคิดว่า คุณตอบคำถามตัวเองได้หรือยัง


เมื่อคืนผมออกไปสังสรรค์ กับรุ่นน้องคนนึง มีการพบปะพูดคุยเรื่องต่างๆมากมาย ทั้งมีสาระและไม่มีสาระ แต่ที่เอามาเขียน Post นี้มีสาระนะครับ เผื่อว่ามันจะเป้นประโยชน์ต่อผู้ อ่านนะครับ จากที่ผมได้คุยกับรุ่นน้องคนนี้ มีคำถามนึงที่ผมชอบในคำถามของเขา “พี่ครับ ทำอย่างไร ผมถึงจะรวย” ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนนะครับ ว่าตัวผมเองก็ ไม่ได้รวยอะไร แค่มีกินมีใช้ไม่ขัดสน และมีเงินลงทุนบ้างแต่มีจำนวนจำกัดเท่านั้นเอง ตัวผมเองใคร่ควรในคำถาม นับว่าเป็นคำถามที่ดีทีเดียว  ผมก็เลยตอบเขาไปว่า เป็นคำถามที่ดี และถามได้ถูกต้องมาก พี่จะเปรียบเทียมคำถามให้ฟัง
ทำอย่างไร ผมถึงจะรวย :การที่ถามแบบนี้แสดงว่าเราอยากรวยจริงๆโดยต้องเกิดจากการกระทำ นั่นคือทำอย่างไรถึงจะรวย จะต้องทำอะไร เพื่อให้เกิดการมีรายรับมากๆขึ้น อย่างนี้ซิ มีโอกาสรวยแน่นอน
เมื่อไหร่ผมจะรวย:การถามแบบนี้ก็แสดงว่าต้องการจะรวย แต่ไม่ต้องการทำอะไรทั้งสิ้น นั่งรอความรวย ถูกล็อตเตอรี่ หรือถูกรางวัล ช่างเพ้อฝัน  แล้วก็ ฝันไปเถอะว่าจะรวย
ผมก็เลยเปรียบเทียบความคิดให้เขาฟังซื่งผมก็อ่านมาอีกที แต่บังเอิญว่าอ่านก่อนเลยสอนน้องเขาได้ ยังไงลองอ่านดูนะ ครับ




สิบข้อ ความแตกต่าง ระหว่าง คนรวย กับ คนชั้นกลาง
ข้อหนึ่ง
 เศรษฐีนั้นคิดยาวแต่คนชั้นกลางคิดสั้น ว่าที่จริงคนที่คิดสั้นที่สุดก็คือคนจน พวกเขามักจะคิดอะไรแบบวันต่อวันทำนองหาเช้ากินค่ำ คนชั้นกลางนั้นมักจะคิดเป็นเดือนต่อเดือน นั่นคือคิดถึงวันเงินเดือนออก แต่คนรวยจะต้องคิดยาวเป็นปี ๆ หรือเป็นสิบ ๆ ปี ในใจของคนจนนั้น เขามักคิดแต่เฉพาะเรื่องของความอยู่รอดเป็นหลัก ในขณะที่คนชั้นกลางคิดถึงเรื่องความสุขสบายจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้า ส่วนคนรวยนั้น เป้าหมายของพวกเขาชัดเจน เขาต้องการความเป็นอิสระทางการเงิน การคิดยาวนั้นมีพลังมหาศาล เพราะมันจะทำให้เขาอดออมและลงทุนระยะยาวซึ่งจะทำให้เงินงอกเงยแบบทบต้นเป็นเวลานาน และนี่คือสูตรสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้คนมั่งคั่ง
ข้อสอง คนรวยพูดเกี่ยวกับเรื่องไอเดีย คนชั้นกลางพูดเกี่ยวกับสิ่งของ และคนจนพูดถึงเรื่องของคนอื่น นี่คงไม่ได้หมายถึงว่าคนรวยไม่พูดเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งของหรือคนอื่น แต่หมายถึงว่าคนรวยจะพูดถึงเรื่องของคนอื่นน้อยกว่าคนจนและมักจะเป็นคนที่มีแนวความคิดดี ๆ หรือมีมุมมองต่าง ๆ มากกว่าคนชั้นกลางและคนจน เบื้องหลังของนิสัยในเรื่องนี้คงอยู่ที่ว่า คนรวยนั้นมักจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนจนซึ่งมักจะชอบ “ซุบซิบนินทา” เป็นนิจสิน ในขณะที่คนชั้นกลางอาจจะเน้นการทำงานประจำ ชอบพูดถึงเรื่องรถยนต์ ดนตรี การพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
ข้อสาม คนรวยยอมรับการเปลี่ยนแปลง คนชั้นกลางต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนชั้นกลางรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ที่ตนเองเคยชิน ในขณะที่คนรวยนั้นคิดว่าการเปลี่ยนแปลงอาจนำมาซึ่งชีวิตที่ดีกว่า เขาคิดว่าในการเปลี่ยนแปลงนั้นมักมีโอกาสที่เขาอาจจะฉกฉวยได้ เบื้องหลังนิสัยนี้อาจจะมาจากการที่คนรวยมีความมั่นใจสูงกว่าคนชั้นกลางที่มักจะกลัวว่าตนเองจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ได้
ข้อสี่ คนรวยกล้ารับความเสี่ยงที่ได้มีการพิจารณาและไตร่ตรองดีแล้ว คนชั้นกลางกลัวที่จะรับความเสี่ยง นี่เป็นนิสัยที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุดของคนชั้นกลางในความเห็นของผม คนที่ไม่ยอมรับความเสี่ยงเลยนั้นจะพลาดที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีโดยสิ้นเชิง ในขณะที่คนที่กล้ารับความเสี่ยงอย่างที่ได้มีการศึกษามาเป็นอย่างดีจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้โดยที่ความเสี่ยงจริง ๆ นั้นจะมีน้อยมาก ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ คนชั้นกลางส่วนใหญ่นั้นมักจะกลัวการลงทุนในหุ้นหรือตราสารการเงินที่มีความผันผวนของราคาโดยที่เขาไม่พยายามศึกษาว่าในระยะยาวแล้วมันอาจจะมีความคุ้มค่ากว่าการฝากเงินในธนาคารมาก ในอีกมุมหนึ่ง คนที่กล้ารับความเสี่ยงอย่าง “บ้าบิ่น” เช่นคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันเองก็ไม่ใช่นิสัยของคนรวย คนรวยนั้นจะต้องรับความเสี่ยงเฉพาะที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว
ข้อห้า คนรวยเรียนรู้และเติบโตตลอดชีวิต คนชั้นกลางคิดว่าการเรียนรู้จบที่โรงเรียน นิสัยการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ นี้ ผมคิดว่าเป็นหัวใจเศรษฐีจริง ๆเพราะในความรู้สึกของผมเอง การเรียนรู้จากโรงเรียนเป็นเพียงพื้นฐานที่เรานำมาศึกษาต่อด้วยตนเองได้ และเวลาหลังจากการเรียนในโรงเรียนนั้นยาวมากเป็นหลายสิบปี ดังนั้น ความรู้ส่วนใหญ่จึงควรที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเรียนจบจากโรงเรียน โดยนัยของข้อนี้ คนรวยจึงน่าจะมีนิสัยรักการอ่านหรือการหาความรู้ต่อไปเรื่อย ๆ ในขณะที่คนชั้นกลางนั้น พอเรียนจบก็มักจะไม่สนใจอ่านหนังสือหรือหาความรู้ใหม่ ๆ และความรู้ที่ผมคิดว่าคนชั้นกลางพลาดไปเพราะไม่มีการสอนในโรงเรียนก็คือ ความรู้ทางด้านการเงินที่คนรวยมักจะศึกษาต่อเพราะเห็นถึงความสำคัญและอาจนำไปสู่ความร่ำรวยได้
ข้อหก คนรวยทำงานเพื่อหากำไร คนชั้นกลางทำงานเพื่อจะได้ค่าจ้าง คนรวยมองว่านี่คือหนทางที่จะทำให้รวยได้มากกว่าแม้ว่าจะมีความเสี่ยง ในขณะที่คนชั้นกลางนั้นมักจะไม่กล้าเสี่ยงและอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์น้อยกว่า จึงมุ่งไปที่การหางานที่จะมีรายได้แน่นอน แต่รายได้จากการใช้แรงงานของตนเองนั้น มีน้อยคนที่จะทำให้ตนเองรวยได้
ข้อเจ็ด คนรวยเชื่อว่าพวกเขาจะต้องใจบุญสุนทาน คนชั้นกลางคิดว่าพวกเขาไม่มีปัญญาที่จะทำบุญ ข้อนี้ผมเองคงไม่มีคอมเม้นท์อะไร ส่วนหนึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจเนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละคนที่ไม่ค่อยบอกหรือรู้กันยกเว้นกรณีที่เป็นการบริจาคใหญ่ ๆ อย่างกรณีของบัฟเฟตต์หรือบิลเกต
ข้อแปด คนรวยมีแหล่งรายได้หลากหลาย คนชั้นกลางมีเพียงหนึ่งหรือสองแหล่ง ข้อนี้ก็เช่นกัน ผมเองไม่แน่ใจว่าคนรวยมีรายได้จากหลายแหล่งเพราะรวยแล้วจึงไปลงทุนในทรัพย์สินหลาย ๆ อย่าง หรือมีทรัพย์สินหลายอย่างจึงทำให้รวย แต่ที่ผมเห็นชัดเจนก็คือ คนชั้นกลางนั้น มักไม่ลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงทำให้รายได้มักจะมาจากเงินเดือนเป็นหลัก
ข้อเก้า คนรวยเน้นการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งของตนเอง คนชั้นกลางเน้นการเพิ่มของเงินเดือน เป้าหมายของคนรวยนั้นอยู่ที่ว่าตนเองมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนโดยมองที่ภาพรวม ดังนั้น ถ้าเขามีหุ้นอยู่ การที่หุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเขาก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นโดยที่เขาไม่ต้องเสียภาษี แต่คนชั้นกลางพยายามทำงานเพื่อให้มีเงินเดือนสูงขึ้นแต่เขาอาจจะลืมไปว่าเขาจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นด้วย สรุปก็คือ คนรวยเน้นการลงทุนใช้เงินทำงานแทนตนเอง คนชั้นกลางเน้นการใช้แรงงานของตนเอง
และสุดท้าย ข้อสิบ คนรวยชอบตั้งคำถามที่เป็นบวกและสร้างกำลังใจ เช่น ฉันจะสร้างรายได้เป็นเท่าตัวในปีนี้ได้อย่างไร? ในขณะที่คนชั้นกลางชอบตั้งคำถามที่เป็นลบและเสียกำลังใจเช่น จะหาเงินมาจ่ายหนี้ค่าบัตรเครดิตเดือนนี้ได้อย่างไร ?

เครดิต: forextrader.igetweb.com/index.php?mo=3&art=432444

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Free Samples By Mail